วันอาทิตย์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

หลักและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับสื่อการสอน


หลักและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับสื่อการสอน


สื่อแบ่งตามประสบการณ์การเรียนรู้


   การแบ่งประเภทของสื่อการสอน ถ้าแบ่งตามระดับประสบการณ์ของผู้เรียน ซึ่ง เดล (Dale 1969:107) ได้แบ่งสื่อการสอนออกเป็น 10 ประเภท โดยพิจารณาจากลักษณะของประสบการณ์ที่ได้รับจากสื่อการสอนประเภทนั้น โดยยึดเอาความเป็นรูปธรรมและนามธรรมเป็นหลักในการแบ่งประเภท และได้เรียงลำดับจากประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมที่สุดประสบการณ์ ที่เป็นนามธรรมที่สุด (Abstract Concrete Continuum) เรียกว่า "กรวยประสบการณ์" (Cone of Experience) ดังแผนภูมิ




   ขั้นที่ 1 ประสบการณ์ตรงและมีความมมุ่งหมาย (Direct Purposeful Experience) เป็นประสบการณ์ที่เป็นรากฐานของประสบการณ์ทั้งปวง เพราะได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ได้เห็น ได้ยินเสียง ได้สัมผัสด้วยตนเอง เช่น การเรียนจากของจริง (Real object) ได้ร่วม กิจกรรมการเรียนด้วยการลงมือกระทำ เป็นต้น

   ขั้นที่ 2 ประสบการณ์จำลอง (Contrived Simulation Experience) จากข้อจำกัดที่ไม่สามารถจัดการเรียนการสอนจากประสบการณ์จริงให้แก่ผู้เรียนได้ เช่น ของจริงมีขนาดใหญ่หรือเล็กเกินไป มีความซับซ้อน มีอันตรายจึงใช้ประสบกาณ์จำลองแทน เช่น การใช้หุ่นจำลองแทน เช่น การใช้หุ่นจำลอง (Model) ของตัวอย่าง (Specimen) เป็นต้น

   ขั้นที่ 3 ประสบการณ์นาฏการ (Dramatized Experience) เป็นประสบการณ์ที่จัดขึ้นแทนประสบการณ์จริงที่เป็นอดีตไปแล้ว หรือเป็นนามธรรมที่ยากเกินกว่าจะเข้าใจและไม่สามารถ ใช้ประสบการณ์จำลองได้ เช่น การละเล่นพื้นเมือง ประเพณีต่างๆ เป็นต้น

   ขั้นที่ 4 การสาธิต (Demonstration) คือการอธิบายข้อเท็จจริง ความจริง และกระบวนการที่สำคัญด้วย การแสดงให้เห็นเป็นลำดับขั้น การสาธิตอาจทำได้โดยครูเป็นผู้สาธิต นอกจากนี้อาจใช้ภาพยนต์ สไลด์และฟิล์ม สตริป แสดงการสาธิตในเนื้อหาที่ต้องการสาธิตได้

   ขั้นที่ 5 การศึกษานอกสถานที่ (Field Trip) การพานักเรียนไปศึกษายังแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนเรียนรู้หลายๆด้าน ได้แก่ การศึกษาความรู้จากสถานที่สำคัญ เช่น โบราณสถาน โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น

   ขั้นที่ 6 นิทรรศการ (Exhibition) การจัดแสดงสิ่งต่างๆ รวมทั้งมีการสาธิตและการฉายภาพยนต์ประกอบเพื่อให้ประสบการณ์ในการเรียนรู้แก่ผู้เรียนหลายด้าน ได้แก่ การจัดป้ายนิทรรศการ การจัดแสดงผลงานนักเรียน

   ขั้นที่ 7 ภาพยนต์และโทรทัศน์ (Motion Picture and Television) ผู้เรียนได้เรียนด้วยการเห็นและได้ยินเสียงเหตุกาณ์ และเรื่องราวต่างๆ ได้มองเห็นภาพในลักษณะการเคลื่อนไหวเหมือนจริง ไปพร้อมๆกัน

   ขั้นที่ 8 การบันทึกเสียง วิทยุ และภาพนิ่ง (Recording, Radio and Television) ได้แก่ เทปบันทึกเสียง แผ่นเสียง วิทยุ ซึ่งต้องอาศัยเรื่องการขยายเสียง ส่วนภาพนิ่ง ได้แก่ รูปภาพทั้งชนิดโปร่งแสงที่ใช้กับเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ (Overhead Projector) สไลด์ (Slide) ภาพนิ่งจากคอมพิวเตอร์ และ ภาพบันทึกเสียงที่ใช้กับเครื่องฉายภาพทึบแสง (Overhead Projector)

   ขั้นที่ 9 ทัศนสัญลักษณ์ (Visual Symbol) มีความเป็นนามธรรมมากขึ้น มีความจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงประสบการณ์ของผู้เรียนเป็นพื้นฐาน


   ขั้นที่ 10 วจนสัญลักษณ์ (Verbal Symbol) เป็นประสบการณ์ขั้นสุดท้าย ซึ่งเป็นนามธรรมที่สุด ไม่มีความคล้ายคลึงกันระหว่างวจนสัญลักษณ์กับความจริง ได้แก่ การใช้ตัวหนังสือแทนคำพูด

วัสดุกราฟิก

   วัสดุกราฟิก หมายถึง ทัศนวัสดุอย่างหนึ่งที่นำมาใช้ในการสื่อความหมายเพื่อแสดงสัญลักษณ์หรือความหมายของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริง แนวคิด และเสริมความเข้าใจโดยอาศัยส่วนประกอบที่เป็นรูปภาพ สัญลักษณ์ แผนภาพ ฯลฯ ซึ่งวัสดุกราฟิกมี 3 ประเภท ได้แก่ วัสดุกราฟิก 2 มิติ และวัสดุกราฟิก 3 มิติ และวัสดุอิเล็กทรอนิกส์ ดังรายละเอียดดังต่อไปนี้

ประเภทของสื่อวัสดุ 

   1. สื่อวัสดุกราฟิก เป็นวัสดุ 2 มิติ รูปร่างบางแบน เช่น รูปภาพ ตัวหนังสือ และสัญลักษณ์

   2. วัสดุ 3 มิติ เป็นสื่อที่สร้างมาจากวัสดุต่างๆ สามารถตั้งแสดงด้วยตนเอง เช่น หุ่นจำลอง
 ของจริง ของตัวอย่าง ป้ายนิทศ กระดานแม่เหล็ก ตู้อันตรทัศน์สรุปสาระสำคัญ

   3. สื่อวัสดุอิเล็กทรอนิกส์ เป็นสื่อที่ใช้กับเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เทป เทปวีดีทัศน์ แผ่นซีดี วีซีดี ดีวีดี



สื่อวัสดุกราฟิก

   1. วัสดุกราฟิก ได้แก่ ภาพเขียน ภาพสี และภาพขาวดำ ตัวหนังสือ เส้น สัญลักษณ์ งานกราฟิก ในสื่อการเรียนการสอนมีวัตถุประสงค์เพื่อการสื่อความหมาย และถ่ายทอดความรู้ไปสู่ผู้เรียน

   2. คุณค่าของวัสดุกราฟิก วัสดุกราฟิกเป็นสื่อพื้นฐานที่ใช้ประกอบการเรียนการสอน เผยแพร่ความรู้ทั่วไปจึงมีคุณค่าหลายประการคือ ราคาถูก ครูสามารถผลิตได้เอง

   3. ประโยชน์ของวัสดุกราฟิก ช่วยให้ผู้เรียนและผู้สอนเข้าใจเนื้อหาบทเรียนได้ตรงกัน กระตุ้นความสนใจของผู้เรียนได้ดีกว่าตัวหนังสือ

   4. ลักษณะของวัสดุกราฟิกที่ดี คือ ตรงกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของบทเรียน มีรูปแบบง่าย ต่อการรับรู้ ไม่ยุ่งยาก สื่อความหมายได้ชัดเจนรวดเร็ว

   5. การออกแบบวัสดุกราฟิก เหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียน ตรงตามเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของบทเรียน การออกแบบต้องคำนึงถึงการสื่อความหมายเป็นสำคัญ

   6. ข้อดีและข้อจำกัดของวัสดุกราฟิก แสดงเนื้อหาให้เข้าใจง่ายขึ้น ผลิตง่ายต้นทุนการผลิตต่ำ ใช้งานสะดวกรวดเร็ว เก็บรักษาง่าย ผู้เรียนมีโอกาสร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนได้ง่าย ข้อจำกัดใช้ได้กับกลุ่มเป้าหมายขนาดเล็กเท่านั้น วัสดุกราฟิกที่มีคุณภาพต้องอาศัยความชำนาญ ในการออกแบบและผลิต

   7. ประเภทของวัสดุกราฟิก 
-  แผนภูมิ เป็นวัสดุกราฟิกที่มีองค์ประกอบเป็นสัญลักษณ์ รูปแบบและตัวอักษร ใช้ประกอบการบรรยาย ชี้แจง สรุปสาระสำคัญ เนื้อหาที่เหมาะกับสื่อแผนภูมิ ได้แก่ ขั้นตอน การเปรียบเทียบ กระบวนการ การแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลข่าวสาร


สื่อวัสดุ 3 มิติ 

   1. วัสดุ 3 มิติ หมายถึง รูปทรงประกอบด้วยขนาดทั้ง 3 ทิศทางคือ ส่วนกว้าง ส่วนยาว ส่วนหนา ส่วนนูน ส่วนเว้า บางอย่างเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น บางอย่างที่อยู่โดยธรรมชาติ

   2. ประเภทของวัสดุ 3 มิติ 

-  หุ่นจำลอง ใช้ในการถ่ายทอดความรู้แทนความจริงในกรณีที่ของจริงไม่สามารถนำมาแสดงได้

-  ของจริง สิ่งเร้าต่างๆ ที่อยู่ตามธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้น มีประโยชน์ ต่อการเรียนรู้ด้วยการแสดงสาระที่เป็นจริงได้ดีกว่าหุ่นจำลอง

-  ป้ายนิเทศ ใช้แสดงเรื่องราวต่างๆ เช่น รูปภาพ แผนภูมิ ข้อความอธิบายภาพ เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง ป้ายนิเทศเป็นสื่อที่มีคุณค่าต่อการเรียนการสอน สามารถใช้ได้ทุกขั้นตอนในกระบวนการเรียนการสอน

-  ตู้อันตรทัศน์ เป็นทัศนวัสดุที่ออกแบบเป็นสื่อ 3 มิติ เรียนแบบธรรมชาติกระตุ้นความสนใจมีลักษณะเป็นฉาก มีความคล้ายคลึงกับความจริง เช่นฉากใต้ทะเล ฉากเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้า โดยมีกล่องพลาสติก หรือกระจก หรือแผ่นอคิริกใส ครอบอยู่

-  กระบะทราย เป็นทัศนวัสดุ 3 มิติที่นำเสนอเรื่องราวจำลองคล้ายของจริงบนพื้นทรายและมีวัสดุต่างๆสามารถสัมผัสได้โดยไม่มีวัสดุใดครอบอยู่




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น