วันอังคารที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การสื่อสารและทฤษฏีการสื่อสารและประวัติความเป็นมาของตัวอักษรไทย

การสื่อสารและทฤษฏีการสื่อสาร


ความหมายของการสื่อสาร


-เป็นกระบวนการถ่ายทอด/แลกเปลี่ยนเรื่องราว  ความต้องการ  ความคิดเห็น 
ความรู้สึก ระหว่างผู้ส่ง-ผู้รับ  ผ่านสื่อ  ช่องทาง


-ระบบเพื่อการติดต่อ  รับส่งข้อมูลซึ่งกันและกัน




ความสำคัญของการสื่อสาร  


มนุษย์เป็นสัตว์สังคม (Social  Animals) จำเป็นต้องมีการสื่อสารเพื่อใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน




ลักษณะของการสื่อสาร


1. วิธีการสื่่อสาร


1.1 การสื่อสารด้วยวาจา หรือ วจนภาษา (Oral Communication)

1.2 การสื่อสารที่มิใช่วาจา หรือ อวจนภาษา (Nonverbal Communication)
                
1.3 การสื่อสารด้วยการใช้จักษุสัมผัส หรือ การเห็น (Visual Communication)



2. รูปแบบของการสื่อสาร

 2.1 การสื่อสารทางเดียว (One-way Communication)

 2.2 การสื่อสารสองทาง (Two-way  Communication)













3. ประเภทของการสื่อสาร

 3.1 การสื่อสารในตนเอง (Self- Communication)

 3.2 การสื่อสารระหว่างบุคคล (Intrapersonal  Communication)

 3.3 การสื่อสารแบบกลุ่มย่อย (Small group Communication)

 3.4 การสื่อสารแบบกลุ่มใหญ่ (Large group Communication)

 3.5 การสื่อสารมวลชน (Mass Communication)


องค์ประกอบของการสื่อสาร

1. ผู้ส่งสาร (Source)

2. สาร (Message)

3. สื่อหรือช่องทาง (Media or Channel)

4. ผู้รับ (Receiver)

5. ผล (Effect)

6. ผลย้อนกลับ (Feedback)





ทฤษฎีการสื่อสารและการเรียนการสอน







ทฤษฎีการสื่อสารทางเดียวเชิงเส้นตรงของแชนนันและวีเวอร์









ทฤษฎีการสื่อสารของชแรมม์










ทฤษฎีการสื่อสารเชิงวงกลมของออสกูดและชแรมม์




อุปสรรคของการสื่อสาร

1. คำพูด (Verbalisn)

2. ฝันกลางวัน (Day Dreaming)

3. ข้ออ้างถึงที่ขัดแย้ง (Referent Confusion)

4. การรับรู้ที่จำกัด (Limited Perception)

5. สภาพแวดล้อมทางกายภาพไม่เอื้ออำนวย(Physical Discomfort)

6. การไม่ยอมรับ (Inperception)




ประวัติความเป็นมาของตัวอักษร

        ตัวอักษรมนุษย์ได้ประดิษฐ์ขึ้นตั้งแต่สมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น ตัวอักษรสร้างขึ้นเพื่อเป็นสื่อทางการติดต่อ ตัวอักษรสมัยโบราณส่วนมากจะวิวัฒนาการมาจากภาพ เช่น อักษรของอียิปต์ ชื่อว่าอักษรไฮเออโรกลิฟิค (Hieroglyphic) ประมาณ 6,000 ปีล่วงมาแล้ว ยังมีอักษรที่เรียกว่า “อักษรลิ่ม” (Cuneiform) ของชาวซูเมอร์เรียน ซึ่งมีความเก่าแก่เท่า ๆ กันกับอักษรของอียิปต์โบราณ ระยะเวลาที่ใกล้เคียงกันนั้นเอง ในทวีปเอเซีย ประเทศจีน และอินเดีย ก็ได้ประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้

        ตัวอักษรที่เป็นสากลส่วนมากใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษ ต้นตระกูลของอักษรภาษาอังกฤษ คือ อักษรโฟนิเซีย ซึ่งแพร่หลายอย่างกว้างขวางในยุโรป ประมาณ 1,000 ปีก่อนคริสต์กาล ชาวกรีกได้นำไปใช้เป็นหลักการเขียนตัวอักษร แล้วนำไปสู่พวกโรมันแก้ไขปรับปรุงจนกลายเป็นอักษรภาษาอังกฤษที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

        การประดิษฐ์ตัวอักษรของไทย เริ่มในสมัยสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ. 1826  โดยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระองค์ทรงดัดแปลงมาจากอักษรของขอมและอักษรมอญโบราณ นำมาประดิษฐ์ใหม่เป็นตัวอักษรของชาติไทย ระยะแรกพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ เรียงแถวกันในบรรทัดเดียวกัน ต่อมาได้เปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม ซึ่งบางตัวอยู่ข้างล่าง ข้างบน ข้างหน้า และข้างหลัง ดังปรากฏที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน



ลักษณะของตัวอักษรไทย      

นักเรียนควรจะศึกษารูปแบบลักษณะของตัวอักษรภาษาไทย ซึ่งแบ่งได้เป็น 4 รูปแบบ คือ

1.  รูปแบบทางราชการ ได้แก่ ตัวอักษรที่มีลักษณะแบบเรียบๆ อ่านง่าย นิยมใช้กันมากโดยเฉพาะงานที่เกี่ยวกับทางราชการ องค์การต่าง ๆ ใช้ในการพิมพ์หนังสือเรียนเป็นแบบที่เรียบร้อยแสดงถึงความเป็นระเบียบแบบแผนของความเป็นไทย  ลักษณะของตัวอักษรจะเป็นหัวกลม

2. รูปแบบอาลักษณ์   หมายถึง แบบตัวอักษรที่ใช้ในราชสำนักมาแต่โบราณ นับแต่พระบรมราชโองการ เอกสารทางราชการ หรือการจารึกเอกสารสำคัญ เช่นรัฐธรรมนูญ งานเกียรติยศต่าง ๆ

3.  รูปแบบสมเด็จกรมพระนริศฯ  หมายถึง  ลักษณะตัวอักษรที่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นผู้คิดรูปแบบขึ้น ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันมาก เพราะเป็นแบบที่ใช้เขียนได้อย่างรวดเร็ว สะดวก และเหมาะสมกับการเขียนด้วยปากกา สปีดบอลล์ พู่กันแบน และสีเมจิกชนิดปลายตัด หรือที่เรียกว่า อักษรหัวตัด

4.  รูปแบบประดิษฐ์   หมายถึง รูปแบบตัวอักษรที่เกิดจากการออกแบบสร้างสรรค์เพื่อนำไปใช้ให้เหมาะสมกับงานประเภทต่าง ๆ เช่น งานออกแบบโฆษณา หัวเรื่องหนังสือ ฯลฯ ซึ่งออกแบบให้เป็นแบบเหลี่ยม แบบวงกลม แบบโค้ง และแบบอื่น ๆ ตามความเหมาะสม


          

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น