วันอาทิตย์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2555

หลักและแนวคิดวิธีระบบ



หลักและแนวคิดวิธีระบบ


ระบบ คืออะไร

ภาพรวมของหน่วยสมบูรณ์ที่ประกอบด้วยหน่วยย่อย
ที่เป็นอิสระแต่มีความสัมพันธ์และมีปฏิสัมพันธ์
ซึ่งกันและกันโดยมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน

ระบบจะต้องมี


1.องค์ประกอบย่อย
2.องค์ประกอบย่อยนั้นต้องมีความสัมพันธ์กัน มีการโต้ตอบ
มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
3.ระบบต้องมีเป้าหมายในการดำเนินกิจกรรมนั้น ๆ
4.กลไกการควบคุมเพื่อให้ทำงานตามจุดมุ่งหมาย

การทำงานของระบบ


Input : ปัจจัยนำเข้า

 เป็นการป้อนวัตถุดิบหรือข้อมูลต่างๆ

การตั้งปัญหาการตั้งวัตถุประสงค์ 

เพื่อดำเนินงานในระบบนั้น

Process : กระบวนการ

เป็นการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล
ที่ป้อนเข้ามาเพื่อดำเนินการตาม
วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
(เป็นขั้นทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง)

Control  : ควบคุม

เป็นการควบคุมและตรวจสอบเพื่อให้
การดำเนินงานเป็นไปได้อย่างมี
ประสิทธิภาพและได้ผลลัพธ์อย่างมีคุณภาพ

Output : ผลลัพธ์

 เป็นผลผลิตที่ได้ออกมาภายหลังจาก
การดำเนินงานใจขั้นของกระบวนการสิ้นสุดลง
รวมถึงการประเมินด้วย

Feedback : ข้อมูลป้อนกลับ

  เป็นการนำเอาผลลัพธ์ที่ประเมินนั้นมา
พิจารณาว่ามีข้อบกพร่องอะไรบ้าง
เพื่อจะได้ทำการปรับปรุงแก้ไข
ให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ลักษณะของระบบที่ดี

1. มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม (Interact with environment)
2. มีจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมาย (Purpose)
3. มีการรักษาสภาพตนเอง (Self-regulation)
4. มีการแก้ไขตนเอง (Self-correction)

ระบบเปิดและระบบปิด

ระบบเปิด คือ ระบบที่รับปัจจัยนำเข้า(Input)
จากสิ่งแวดล้อและขณะเดียวกันก็ส่งผลผลิต(Output)
กลับไปให้สิ่งแวดล้อมอีกครั้งหนึ่ง เช่น ระบบสังคม 
ระบบการศึกษา ระบบหายใจ ฯลฯ

ระบบปิด คือ ระบบที่มิได้รับปัจจัยนำเข้าจากสิ่งแวดล้อม
หรือรับปัจจัยนำเข้าจากสิ่งแวดล้อมน้อยมาก
แต่ขณะเดียวกันก็ส่งผลผลิต(Output)
ให้กับสิ่งแวดล้อมได้ด้วย เช่น ระบบไฟฉาย 
ระบบแบตเตอร์รี่ ฯลฯ

การคิดอย่างมีระบบคือ


การพิจารณาปฏิสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องระหว่าง    
การดำเนินงานและองค์ประกอบทั้งหลายในระบบมิใช่
มองเพียงจุดใดจุดหนึ่งเท่านั้น


วิธีระบบ (Systems approach)


เป็นการวางแผนระบบใหม่หรือพัฒนาระบบให้ดีขึ้นหลัง
การวิเคราะห์ระบบแล้วโดยกำหนดขั้นตอนที่เหมาะสม 
จัดวางปรัชญา ปณิธาน จุดมุ่งหมาย องค์ประกอบ
 ภารกิจ ปฏิสัมพันธ์ ปัจจัยเกื้อหนุน และการประเมินเพื่อ
ประสิทธิภาพของงาน

ตัวอย่างวิธีระบบ

1. วิเคราะห์
2. สังเคราะห์
3. สร้างแบบจำลอง 
4. ทดลองใช้และประเมินผลเพื่อปรับปรุงแก้ไข

กระบวนการแก้ปัญหาด้วยวิธีระบบ

1. กำหนดปัญหา
2. กำหนดขอบข่ายของปัญหา
3. วิเคราะห์ปัญหา
4. กำหนดแนวทางแก้ปัญหา
5. การเลือกแนวทางแก้ปัญหา 
6. วางแผนเตรียมการแก้ปัญหา 
7. นำไปทดลองกับกลุ่มย่อย 
8. ควบคุมตรวจสอบเพื่อปรับปรุงแก้ไข

การพัฒนาระบบ

1. กำหนดภาพรวม สร้างภาพขึ้นในสมอง
2. รวบรวมข้อมูลเพื่อกำหนดจุดมุ่งหมาย
3. กำหนดคุณลักษณะ ความสามารถของระบบ
(อยากให้ระบบทำอะไรได้บ้าง)
4. ศึกษา กำหนดองค์ประกอบต่างๆ
5. กำหนดหน้าที่ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ
6. กำหนดกลไกการทำงาน กลไกการควบคุมเพื่อให้ได้ตาม
จุดมุ่งหมาย  
7. ศึกษาสภาพแวดล้อมเพื่อการใช้ระบบ

กรอบแนวคิดในการออกแบบและพัฒนาการสอน

-จะออกแบบและพัฒนาโปรแกรมนี้ไว้เพื่อใคร
(วิเคราะห์ผู้เรียน)
-ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนอะไร หรือมีความสามารถที่
จะทำอะไรได้บ้าง (กำหนดจุดมุ่งหมายการเรียน)
-ผู้เรียนจะเรียนรู้เนื้อหาวิชา/ทักษะต่างๆได้ดีที่สุดอย่างไร
(กำหนดวิธีสอนและกิจกรรมการเรียน)
-จะรู้ได้อย่างไรว่าผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้
 (กระบวนการประเมิน)

ตัวอย่างรูปแบบการออกแบบและการพัฒนาการสอน

-The Kemp Model
-Dick and Carey
-IDI
-IPISD



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น