เทคโนโลยีการศึกษา
วิวัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา
แนวคิดแรก เป็นแนวคิดทางวิทยาศาสตร์กายภาพ หรือ “Physical Science Concept” เป็นการนาผลิตผลทางวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมมาใช้ในด้านการศึกษา ซึ่งอยู่ในรูป “วัสดุและอุปกรณ์” เป็นแนวคิดที่พัฒนา มาจาก “โสตทัศนศึกษา” หรือ Audiovisual Education” โดยจะเน้นหนัก ไปที่ “สื่อสิ่งของ”
แนวคิดที่สอง เป็นแนวคิดทางพฤติกรรมศาสตร์ หรือ “Behaviorial Science Concept” เป็นการประยุกต์หลักการทางจิตวิทยา สังคมวิทยา และมานุษยวิทยา ผสมผสานกับแนวคิดแรก (วิทยาศาสตร์กายภาพ) เน้น “วิธีการจัดระบบ” หรือ “Systems Approach” แนวคิดนี้จะเป็นลักษณะการรวม “วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ” ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของ “Instructional Design” หรือ “Instructional System Development” โดยนักเทคโนโลยีการศึกษาทาหน้าที่เป็น วิศวกรทางการศึกษา(Educational Engineer)
แนวคิดที่สาม เริ่มพัฒนาและให้ความสนใจในเรื่องการเรียนการสอนรายบุคคลเป็นลักษณะบทเรียนต่างๆ เช่น CAI , WBI , E-learning ฯลฯ
เพื่อตอบสนองความต้องการเรียนรู้รายบุคคลเรียนรู้ตลอดชีวิต เรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา
ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา
การประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์หรือความรู้อื่น ๆ ที่เป็นระบบเข้ากับงานการศึกษา เพื่อประสิทธิภาพของงาน
EdgarDale กล่าวว่าเทคโนโลยีการศึกษาไม่ใช่เครื่องมือแต่เป็นแผนการหรือวิธีการทางานอย่างเป็นระบบเพื่อให้บรรลุผลตามแผนการ
ความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษา
1นำมาใช้ในการแก้ปัญหา ในด้านการศึกษา
- ปัญหาด้านผู้สอน
- ปัญหาด้านผู้เรียน
- ปัญหาด้านเนื้อหา
- ปัญหาด้านเวลา
- ปัญหาเรื่องระยะทาง
2.เพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนการสอนและ
เพิ่มประสิทธิผลทางการศึกษา
เป้าหมายของเทคโนโลยีการศึกษา
1.เพื่ออานวยความสะดวกในการเรียนรู้ของมนุษย์
2.เพื่อขยายแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้
ขอบข่ายเทคโนโลยีการศึกษา
ภาระงานเทคโนโลยีทางการศึกษา
-เทคโนโลยีการศึกษาในระดับผู้ปฎิบัติ
-เทคโนโลยีการศึกษาที่เป็น นักออกแบบ นักจัดระบบ (เช่น วิเคราะห์ระบบการสอน สังเคราะห์ระบบการสอน สร้างแบบจาลองระบบการสอน ทดสอบระบบการสอน) และผู้ควบคุมการผลิตและการใช้สื่อประเภทต่างๆ
เทคโนโลยีการศึกษาที่เป็นเครื่องมือบริหาร ได้แก่
1. การเป็นเครื่องมือด้านการจัดระบบการบริหาร
2. การเป็นเครื่องมือด้านธุรการ
3. ในด้านการบริหารบุคลากร
4. ในด้านการบริหารวิชาการ
5. ในด้านการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
6. ในด้านการพัฒนาบุคลากร
เทคโนโลยีการศึกษาที่เป็นเครื่องมือทางวิชาการ มี 2 รูปแบบ
1. การยึดสื่อคนเป็นหลัก
2. การยึดสื่อสิ่งของเป็นหลัก มีอยู่ 3 แนว คือ
2.1 การใช้สื่อสิ่งพิมพ์เป็นแกน เสริมด้วยสื่อโสตทัศน์
รายการวิทยุกระจายเสียง รายการวิทยุโทรทัศน์ การสอนเสริม
และสื่อโทรคมนาคม เป็นต้น
2.2 การใช้สื่อวิทยุหรือโทรทัศน์เป็นแกน โดยใช้วิทยุหรือ
โทรทัศน์เป็นสื่อแกนกลางแล้วเสริมด้วยสื่อสิ่งพิมพ์สื่อโสตทัศน์
และการสอนเสริม เป็นต้น
2.3 การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือคอมพิวเตอร์เป็นแกน
เทคโนโลยีการศึกษาที่เป็นเครื่องมือบริการทางวิชาการ เช่น
สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อฝึกอบรม รายการวิทยุกระจายเสียง รายการวิทยุโทรทัศน์ วัสดุบันทึกในรูปแบบต่างๆ แหล่งวิทยุบริการ ระบบเครือข่ายดิจิตอล
นวัตกรรม
ความหมายของนวัตกรรม/นวกรรม
-ความคิดและการกระทา/สิ่งประดิษฐ์ใหม่
-เพื่อแก้ปัญหาที่ประสบ
-เป็นจุดเริ่มต้นของเทคโนโลยี
เกณฑ์การพิจารณานวัตกรรม
-จะต้องเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมด หรือ บางส่วนเป็นของเก่าซึ่งในอดีตใช้ไม่ได้ผลแต่นามา
ปรับปรุงใหม่ให้ดีขึ้น
-นาวิธีจัดระบบมาใช้ (องค์ประกอบระบบ)
-พิสูจน์ด้วยการวิจัย
-ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน
นวัตกรรมมีสาขาใดบ้าง
-การเกษตร
-การปกครอง
-วิทยาศาสตร์
-การศึกษา
-ฯลฯ
นวัตกรรมทางการศึกษา
หมายถึง การนาเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทา รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ต่างๆเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลง/แก้ปัญหา สิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบ การจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
กระบวนการเกิดของนวัตกรรม
-ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Invention) หรือเป็นการปรุง
แต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
-ระยะที่ 2 พัฒนาการ(Development) มีการทดลองในแหล่ง
ทดลองจัดทาอยู่ในลักษณะของโครงการทดลอง
ปฏิบัติก่อน(Pilot Project)
-ระยะที่ 3 การนาเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็น
นวัตกรรม (Innovation) ขั้นสมบูรณ์
แนวคิดพื้นฐานที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมทางการศึกษา
ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) เช่น
-การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School)
-แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
-เครื่องสอน (Teaching Machine)
-การสอนเป็นคณะ (Team Teaching)
เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)
2. ความพร้อม (Readiness) เช่น
-ศูนย์การเรียน (Learning Center)
ชุดการเรียนการสอน
3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา เช่น
-การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling)
-มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)
-แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
-การเรียนทางไปรษณีย์
4. ประสิทธิภาพในการเรียน เช่น
-มหาวิทยาลัยเปิด
-การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์
-การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป
-การศึกษาทางไกล
- WBI, E-learning
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น